วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ Happy New Year



Happy New Year

Happy New Year

ประวัติวันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
วันปีใหม่ 2555
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึง วันที่ 1 มกราคม เช่น เคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปีหรือ วันที่ 31 ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง มหรสพ และในตอนเช้า วันที่ 1 มกราคม ก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดหรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตรหรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
***********************************************************************************

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

***********************************************************************************

วันเทศกาลตรุษจีน


เทศกาลตรุษจีน
中国国际广播电台

      เช่นเดียวกับวันคริสต์มาสที่มีความสำคัญต่อประเทศตะวันตก เทศกาลตรุษจีนก็ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ถึงแม้ความหมายของตรุษจีนและรูปแบบการฉลองเทศกาลตรุษจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย แต่สำหรับชาวจีนแล้ว ตรุษจีนยังคงมีฐานะสำคัญที่สุดที่เทศกาลอื่นๆมิอาจทดแทนหรือเทียบเท่าได้
        เล่ากันว่า เทศกาลตรุษจีนมีประวัติยาวนานกว่าสี่พันปีแล้ว เดิมทีไม่ได้เรียกว่าตรุษจีน และก็ไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนด้วย เมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตกาล คนในสมัยนั้นถือการโคจรรอบหนึ่งของดาวจูปีเตอร์เป็นหนึ่ง”ซุ่ย” จึงเรียกตรุษจีนว่า”ซุ่ย” เมื่อ 1000 กว่าปีก่อนคริสต์กาล ผู้คนเรียกตรุษจีนว่า“เหนียน”ซึ่งมีความหมายว่าการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์
        ตามประเพณีพื้นบ้าน  เทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีนไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน ในช่วงนี้ คืนวันที่ 30 เดือน 12 ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และวันที่ 1 เดือนอ้ายหรือวันชิวอิก จะเป็นวาระสำคัญที่สุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนซึ่งกินเวลาทั้งหมดประมาณ 3 อาทิตย์
       เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ประชาชนในเมืองหรือชนบทต่างตระเตรียมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะในชนบท พอย่างเข้าเดือนธันวาคมก็เริ่มเตรียมที่จะต้อนรับตรุษจีนแล้ว เช่น ทำความสะอาดบ้าน  ซักเสื้อผ้าและผ้าห่ม ซึ่งถือเป็นการขับไล่สิ่งที่สกปรกออกจากบ้าน เพื่อให้บ้านมีโฉมหน้าใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องซื้อของกินของใช้มากมาย เช่น ลูกอม ขนม หมูเห็ดเป็ดไก่ และผลไม้นานาชนิด เพื่อเตรียมไว้กินหรือต้อนรับแขกในช่วงเทศกาลตรุษจีน  ในเมืองใหญ่ การเตรียมการต่างๆก็เริ่มตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นกัน เช่น หน่วยงานวัฒนธรรมและคณะนาฏศิลป์จะเตรียมรายการมากมายสำหรับแสดงในช่วงตรุษจีน สถานีโทรทัศน์ต่างๆจะเตรียมจัดงานบันเทิง สวนสาธารณะจะเตรียมจัดงานวัดตามประเพณีฉลองตรุษจีนที่สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสนุกสนานมากกว่าวันธรรมดา ส่วนร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ จะจัดเตรียมสินค้าให้เพียงพอเพื่อตอบสนองการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีน มีสถิติแสดงให้เห็นว่า เงินที่ชาวจีนใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะเป็น 1 ใน 3 ของเงินใช้จ่ายตลอดปีหรืออาจมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
       ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน มีประเพณีฉลองตรุษจีนที่แตกต่างกัน แต่มีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งไม่ว่าภาคใต้หรือภาคเหนือล้วนปฏิบัติเหมือนกัน นั่นก็คือ การรับประทานอาหารด้วยกันทั้งครอบครัวในคืนส่งท้ายปีเก่า ที่ภาคใต้ อาหารมื้อนี้มักจะมีกับข้าวกว่าสิบอย่าง ต้องมีเต้าหู้และปลา เพราะว่าการออกเสียง”เต้าหู้”และ“ปลา”นั้นพ้องเสียงกับคำว่า“ฟู่อวี้”ซึ่งมีความหมายว่ามั่งคั่งร่ำรวย  ส่วนทางภาคเหนือ ในคืนส่งท้ายปีเก่า ทุกคนในครอบครัวจะช่วยกันห่อเกี๊ยว แล้วรับประทานด้วยกัน
       ในคืนส่งท้ายปีเก่ายังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า”โส่วซุ่ย”คือ อยู่โต้รุ่งเพื่อต้อนรับวันปีใหม่ เมื่อก่อนนี้ ก่อนปีใหม่จะมาถึง ผู้คนจะจุดประทัดต้อนรับปีใหม่ ประเพณีการจุดประทัดในอดีตก็เพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ แต่เนื่องจากการจุดประทัดทำให้เกิดมลพิษและไม่ปลอดภัย ดังนั้น ในเขตตัวเมืองของเมืองใหญ่ต่าง ๆ เช่นปักกิ่งเป็นต้นจึงห้ามจุดประทัด  พอถึงวันชิวอิก ไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้เฒ่าผู้แก่มักจะใส่เสื้อผ้าใหม่ เพื่อต้อนรับแขกหรือไปเยี่ยมญาติและเพื่อน ๆ เวลาพบหน้ากัน มักจะทักทายด้วยคำว่า“สวัสดีปีใหม่”หรือ“สวัสดีตรุษจีน”แล้วจะเชิญเข้าบ้าน กินขนมจิบน้ำชาไป คุยไปด้วย ถ้าระหว่างญาติพี่น้องเคยเกิดการทะเลาะกันหรือความไม่พอใจกันในรอบปีเก่า ก็จะให้อภัยและคืนดีกันหลังจากการเยี่ยมเยือนกันในช่วงเทศกาลตรุษจีน
       กิจกรรมในช่วงเทศกาลตรุษจีนมีมากมายหลายอย่าง เช่น การแสดงละครพื้นบ้าน การฉายหนัง การเชิดสิงโต การเต้นระบำพื้นบ้าน การรำไม้ต่อขา และงานวัด ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยบรรยากาศคึกคักสนุกสนาน แต่กิจกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมทำกันก็คือ การชมรายการโทรทัศน์ที่บ้าน สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ จะจัดรายการมากมายที่เหมาะสมกับผู้ชมแต่ละวัย
       การปิดคำกลอนคู่และภาพมงคล การจุดโคมไฟ ก็เป็นประเพณีฉลองตรุษจีนที่สำคัญ ในช่วงเทศกาล ตลาดจะจำหน่ายกระดาษคำกลอนคู่และภาพมงคลสีสันหลากหลายที่เป็นรูปดอกไม้บ้าง สัตว์บ้างและตัวบุคคลบ้าง ที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตผาสุกของประชาชน  ให้ลูกค้าเลือกซื้อตามใจชอบ นอกจากนี้ งานโคมไฟก็เป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน โคมไฟที่ทำเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ เป็นศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านของจีน บนโคมไฟจะพิมพ์หรือวาดลวดลายต่าง ๆ มีสัตว์ ทิวทัศน์ ตัวบุคคลเป็นต้น และทำเป็นรูปต่าง ๆ
       เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นเรื่อย ๆ รูปแบบและวิธีฉลองเทศกาลตรุษจีนก็พลอยเปลี่ยนแปลงไปด้วย การออกไปเที่ยวนอกบ้านนอกเมืองกำลังกลายเป็นกระแสนิยมของชาวจีนยุคใหม่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน

วันกองทัพไทย

วันกองทัพไทย



ภาพ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยุทธหัตถี"
จาก  http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/choosiri/wp-content/uploads/2006/10/image4.gif
 
 ความเป็นมาของวันกองทัพไทย
ในสมัยอดีตประเทศไทยเป็นประเทศที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเป็นอย่างมากเนื่องจาก พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทรงเป็นผู้นำทัพเพื่อต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติไทยมานานหลายสมัย จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระเนรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นศูนย์รวมจิตใจ กำลังใจและความภาคภูมิใจในการต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อประเทศไทยโดยเฉพาะเหตุการณ์ในครั้งที่พระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี เมื่อวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ณ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญของไทยเลยก็ว่าได้เพราะพระองค์ทรงกล้าหาญ มีไหวพริบในการทำศึกจนเป็นที่กล่าวขานแก่คนในชาติและประเทศที่อยู่ใกล้เคียง

เมื่อครั้งที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.2523 ได้มีมติร่วมกับคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2524 เป็นวัน กองทัพไทยซึ่งตรงกับวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเศวรมหาราช เพื่อเป็นวันที่รำลึกถึงความภาคภูมิใจในความกล้าหาญของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตที่ทรงเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อกอบกู้เอกราชชาติไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้ลงอนุมัติให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอโดยให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีและอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมเริ่มใช้ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2550 เป็นต้นไป

ปัจจุบัน (รัชการที่ ๘ – ๙) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ การพัฒนาด้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก


ภาพ "ทหารบก"  จาก http://web.schq.mi.th/~j5/heart/031049.htm

  ภาพ  "ทหารเรือ"  จาก http://ads.dailynews.co.th/news/images/2006/variety/11/16/107562_41412.jpg


ภาพ "ทหารอากาศ"  จาก  http://www.daoc.rtaf.mi.th/default.php?table=&&actpage=7#act

บทบาทกองทัพไทย
การป้องกันประเทศ
กองทัพไทยมีหน้าที่สำคัญคือการป้องกันประเทศทั้งในยามสงบและยามที่เกิดภัย โดยจัดให้มีการฝึกกำลังรบอยู่เป็นประจำ ป้องกันภัยทั้งในประเทศและนอกประเทศ รักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสงบไม่เกิดปัญหาซึ่งกันและกัน จัดกำลังป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย อบรมราษฎรในพื้นที่เพื่อสามารถป้องกันตนเองได้

ส่งเสริมการปกครอง
กองทัพไทยมีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนชาวไทยรักชาติ รักษาความมั่นคงความสงบสุขของสังคม โดยช่วยกันสอดส่องดูแล ให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน ทั้งนี้กองทัพไทยยังป้องกันตามชายแดนเพื่อแก้ปัญหาการลำเลียงยาเสพติดที่เป็นภัยต่อประเทศชาติอีกด้วย


ภาพ "ทหารรักษาพระองค์" จาก http://www.do.rtaf.mi.th/Library/Images/FullKG.jpg
การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดและสำคัญสำหรับประชาชนทั้งนี้ยังเป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งแก่เหล่าทหารเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมิ่งขวัญแก่เหล่าทหารเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ กองทัพไทยจึงมีส่วนสำคัญในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในโอกาสวันเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาของทุกปี กองบัญชาการทหารสูดสุดได้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ สวนสนามทหารรักษาพระองค์

การรักษาผลประโยชน์ของคนในชาติ
กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการประมง พื้นที่ทำมาหากิน บรรเทาสาธารณภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย แก้ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่นการเกิดภัยแล้งก็ปฏิบัติการฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริ

ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สอดส่องดูแล รักษา ปกป้อง ทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย พร้อมทั้งส่งเสริมจัดกิจกรรมต่างขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีสำนึกที่ดี ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้ ทั้งนี้กองทัพยังมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญโดยพัฒนาทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย
กองทัพไทยในปัจจุบัน
กองทัพไทยได้กำหนดนโยบายเพื่อความมั่นคงแห่งชาติไว้ ดังนี้ (จาก http://www.schq.mi.th/military_history.pdf สืบค้น 17 ม.ค. 2551 )
๑. เพื่อป้องปราม ป้องกันและต่อสู้เอาชนะภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ
๒. เพื่อรักษาความมั่นคงภายในประเทศและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประชุม
๓. เพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบภายในประเทศ
๔. เพื่อสนับสนุนและร่วมในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาสาธารณภัย
๕. เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติ
๖. เพื่อร่วมมือกับมิตรประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในการรักษาสันติภาพและการป้องกันร่วมกัน
กิจกรรมในวันกองทัพไทย
ในวันนี้เหล่ากองทัพได้ทำกิจกรรมคือ พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่นิยมเรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหารทุกคน และเพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมและเป็นการสักการะดวงวิญญาณนักรบไทย จะมีพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ทางทหาร เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ทหารอาสา อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ฯลฯ
 
**************************************

วันครู

วันครู เป็นวันระลึกถึงความสำคัญของครู โดยจัดให้มีขึ้นทุกวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี





ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ครู มาจากคำภาษาบาลีว่า ครุ (อ่านว่า คะ -รุ). ภาษาสันสกฤตใช้ว่า คุรุ แปลว่า หนัก, ผู้มีความประพฤติน่าเคารพ, ผู้สั่งสอนศิษย์ คำว่า ครู มีพยัญชนะต้นตัว คร ควบ ต้องออกเสียงควบกล้ำให้ชัด  (ที่มา : royin.go.th) 
ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
กิจกรรมวันครู
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
 - กิจกรรมทางศาสนา
 - พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
 - กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น (ที่มา: th.wikipedia.org)
คุณสมบัติของครูอาจารย์ที่ดี
1. ประพฤติตัวให้เป็นที่รัก (ปิโย)
2. มีใจหนักแน่นทำตนให้น่ายำเกรง (ครุ)
3. อบรมตนเองสม่ำเสมอ (ภาวนีโย)
4. ฉลาดสอน ฉลาดพูด (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน (วจนกฺขโม)
6. พูดเรื่องลึกซึ้งให้เข้าใจลึกซึ้งได้ (คมฺภีรํ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย (โน จฎฺฐาเน นิโยชเย)
หน้าที่ของครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์
1. แนะนำดี
2. ให้เรียนดี
3. บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
4. ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง
5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
1. ให้การต้อนรับ
2. เสนอตัวรับใช้
3. เชื่อฟัง
4. คอยปรนนิบัติ
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ



บทสวดเคารพครูอาจารย์

   (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ(รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เตทินฺโนวาเท นมามิหํ

   ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยาแก่ข้าในกาลปัจจุบัน
   ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพาปัญญาให้เกิดแตกฉาน
   ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนานอยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวีแก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ

วันเด็ก

ประวัติความเป็นมาของวันเด็กแห่งชาติ


ภาพ:ChildrendDay_3.jpg
 

          วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป (วันจันทร์) มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
          งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
          รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้

กิจกรรมวันเด็ก

ภาพ:ChildrendDay_2.jpg

          กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ
          - ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง
          - เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
          เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ ฯลฯ
          ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ

เพลงสำหรับเด็ก

ภาพ:ChildrendDay_1.jpg

 เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี

          เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ
          เนื้อเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          หนึ่ง นับถือศาสนา
          สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
          สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
          สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
          ห้า ยึดมั่นกตัญญู
          หก เป็นผู้รู้รักการงาน
          เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
          ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
          แปด รู้จักออมประหยัด
          เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
          น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
          ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
          สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
          รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
          เด็กสมัยชาติพัฒนา
          จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

วันกาชาดไทย

วันกาชาดไทย



กาชาด หมายถึง ตีนกาสีแดง สภาการกุศลสำหรับชาติหรือประชาชนทั่วไป

วันกาชาดเป็นวันที่คนไทยควรจะตระหนักถึงความสำคัญของสภากาชาดไทยที่มีต่อสังคมในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และเข้าร่วมกิจกรรมวันกาชาดไทยเพื่อสนับสนุนช่วยกาชาดด้านกำลังทรัพย์ กำลังความคิดในกิจการสาธารณกุศลให้ดำเนินก้าวหน้าต่อไป

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2402 เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรียทำให้มีทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ชาวสวิสชื่อ นายอองรี ดูนองต์ (อังรี ดูนังต์) ได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันนำทหารที่บาดเจ็บไปทำการรักษาพยาบาล โดยนายอองรี ทำการรักษาให้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าเป็นฝ่ายใดหรือชาติไหนดังนั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงมีความชื่นชมในมนุษยธรรมของนายอองรี และได้มีการจัดตั้งองค์การสาธารณกุศลในประเทศของตน ต่อจากนั้นมีการรวมตัวกันกลายเป็นสภากาชาดสากล ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโอกาสต่อมา

ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป

องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี ซึ่งไม่มีกำหนดวันที่แน่นอนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การจัดงานวันกาชาดก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ การดำเนิน ผลงาน กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436
(ร.ศ.112) ใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดง แห่งชาติสยาม" โดยดำเนินการช่วยทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์
รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากภัยสงคราม และภัยพิบัติต่างๆ

ปี พ.ศ. 2449 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงนามความตกลงเรื่องการใช้เครื่องหมายกาชาดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนามรบ สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม โดยใช้เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์
ปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ครองราชย์สืบต่อมา ได้ทรงสืบทอดพระราชภารกิจของสภากาชาดสยามให้เจริญก้าวหน้าเช่นอารยประเทศ
ปี พ.ศ.2454 พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้แทนจากสภากาชาดสยามไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามความตกลงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ) และทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม บริหารงานของสภากาชาดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ทรงมีพระราชโองการให้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามในปี พ.ศ.2461
ปี พ.ศ.2463 ทรงนำสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกของกาชาดสากลในปี สภากาชาดสยามเป็นสมาชิกกาชาดสากล ประเทศลำดับที่ 27
เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 กิจการของกาชาดสยามเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด
ปี พ.ศ.2482 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สภากาชาดสยาม เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย ตามชื่อของประเทศ
ปัจจุบันสภากาชาดไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ดังนี้



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นอุปถัมภกสภากาชาดไทย



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสภานายิกาสภากาชาดไทย



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย