วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

วันครู

วันครู เป็นวันระลึกถึงความสำคัญของครู โดยจัดให้มีขึ้นทุกวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี





ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ครู มาจากคำภาษาบาลีว่า ครุ (อ่านว่า คะ -รุ). ภาษาสันสกฤตใช้ว่า คุรุ แปลว่า หนัก, ผู้มีความประพฤติน่าเคารพ, ผู้สั่งสอนศิษย์ คำว่า ครู มีพยัญชนะต้นตัว คร ควบ ต้องออกเสียงควบกล้ำให้ชัด  (ที่มา : royin.go.th) 
ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
กิจกรรมวันครู
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้
 - กิจกรรมทางศาสนา
 - พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
 - กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น (ที่มา: th.wikipedia.org)
คุณสมบัติของครูอาจารย์ที่ดี
1. ประพฤติตัวให้เป็นที่รัก (ปิโย)
2. มีใจหนักแน่นทำตนให้น่ายำเกรง (ครุ)
3. อบรมตนเองสม่ำเสมอ (ภาวนีโย)
4. ฉลาดสอน ฉลาดพูด (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน (วจนกฺขโม)
6. พูดเรื่องลึกซึ้งให้เข้าใจลึกซึ้งได้ (คมฺภีรํ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสียหาย (โน จฎฺฐาเน นิโยชเย)
หน้าที่ของครูอาจารย์พึงมีต่อศิษย์
1. แนะนำดี
2. ให้เรียนดี
3. บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
4. ยกย่องให้ปรากฎในเพื่อนฝูง
5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
1. ให้การต้อนรับ
2. เสนอตัวรับใช้
3. เชื่อฟัง
4. คอยปรนนิบัติ
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ



บทสวดเคารพครูอาจารย์

   (สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ(รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เตทินฺโนวาเท นมามิหํ

   ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยาแก่ข้าในกาลปัจจุบัน
   ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพาปัญญาให้เกิดแตกฉาน
   ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนานอยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวีแก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น